อินเตอร์คูลเลอร์ หน้าที่และคุณประโยชน์
รถยนต์สมัยนี้เห็นเขาโฆษณากันว่าพลังแรงจัดเทอร์โบ อินเตอร์คูลเลอร์ แล้วอินเตอร์คูลเลอร์มีส่วนสำคัญทำให้พลังแรงขนาดนั้นเลยหรือ และทำไมมันถึงมีส่วนทำให้เครื่องแรงขึ้น แล้วที่มีอยู่แล้วสมควรเปลี่ยนใหม่หรือไม่ เอาแบบใหญ่ไปเลยดีไหม ใจเย็นครับเรามารู้จักรูปแบบและหน้าที่การทำงานของมันก่อนดีกว่า
อินเตอร์คูลเลอร์( INTER COOLER ) หรือ อัฟเตอร์คูลเลอร์ ( AFTER COOLER ) หรือตามอย่างช่างแต่งรถเมืองนอกเขาเรียกว่า HEAT EXCHANGER แปลตรงตัวเลยครับว่า ตัวแลกเปลี่ยนความร้อน หน้าที่ของมันคือ ระบายความร้อนของไอดีที่ถูกอัดมาจาก เทอร์โบชารจ์เจอร์ซึ่งมีความร้อนสูงให้เย็นตัวลง อากาศที่มีความร้อนสูงตามหลักฟิสิกส์ จะมีมวลอากาศน้อยความหนาแน่นต่ำ อากาศเย็นมวลอากาศมากความหนาแน่นสูงกว่า สังเกตุจากเวลาอากาศเย็นๆรถจะวิ่งดีขึ้น เจ้าอินเตอร์คูลเลอร์นี่หละจะคอยระบายความร้อน ของไอดีอุณหภูมิสูงให้ลดลงมวลไอดี จะมีความหนาแน่นขึ้น การเผาไหม้ดีขึ้น เครื่องยนต์พลังแรงขึ้น
ทฎษฎี
อากาศที่ถูกอัดจากเทอร์โบจะมีความร้อนสูงเนื่องมาจาก โมเลกุลของอากาศผ่านการเสียดสีกับกังหันเทอร์โบด้วยความเร็วสูงเมื่ออัดเข้าสู่ท่อไอดีแรงดันของอากาศจะทำให้โมเลกุลเกิดการกระทบกันอีกความร้อนจะเพิ่มสูงมาก จากอุณหภูมิปกติ 35 – 45 องศาจะสูงขึ้นเป็น
90 – 120 องศา และทุกๆ 1องศาของอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้น จะมีผลทำให้อุณหภูมิไอเสียเพิ่มขึ้นอีก 3 องศา ( ลองคำนวณดูครับว่าน่ากลัวขนาดไหน ) ดังนั้นอินเตอร์คูเลอร์จะทำหน้าที่ลดความร้อนไอดีให้กลับมาที่อุณหภูมิปกติ ในอินเตอร์ที่ดีน่าจะลดความร้อนให้กลับมาอยู่ที่ 20- 50 องศาการลดความร้อนที่ดีขึ้นอยู่กับ การเลือกใช้อินเตอร์ การติดตั้ง และคุณภาพของอินเตอร์ที่นำมาติดตั้ง
การติดตั้ง
แบบระบายความร้อนด้วยน้ำส่วนใหญ่แล้วจะติดตั้งติดกับตัวเครื่องยนต์ และติดตั้งหม้อหล่อเย็นไว้ด้านหน้ารถเพื่อใช้อากาศระบายความร้อน แบบนี้มีผลดีครับเพราะท่อไอดีมีขนาดสั้น บูชจะมาไวลดอาการเทอร์โบแร็ค แบบระบายความร้อนด้วยอากาศส่วนใหญ่แล้ว
จะติดตั้งด้านหน้ารถ หรือ ติดกับเครื่องยนต์ แล้วเจาะฝากระโปรงรถให้เกิดช่องรับลม แบบนี้ไม่ต้องดูแลมาก เหมาะกับเมืองร้อน ต้องติดตั้งให้อากาศสามารถมาปะทะได้ง่ายมีสิ่งกีดขวางน้อยที่สุด และต้องไม่ไปกีดขวางการระบายความร้อนของหม้อน้ำและรังผึ้งแอร์
จนทำให้ความร้อนเครื่องยนต์เพิ่มสูงขึ้น และแบบที่ติดตั้งบนฝากระโปรงส่วนใหญ่จะมีช่องดักอากาศ ( SCOOP ) แบบนี้มีผลดีเพราะติดตั้งง่าย ท่อไอดีสั้นบูชมาไว แต่การติดตั้งต้องคำนึงถึงรูปแบบอากาศพลศาสตร์ของรถแต่ละรุ่นด้วยเพราะรถส่วนใหญ่แล้วจะออกแบบให้อากาศที่ชนฝากระโปรงหน้าขึ้นข้ามหลังคาไปเลย เพื่อลดฝุ่น หิน ดิน และแมลงมาชนกระจกหน้ารถ มีโอกาสที่ลมจะไม่เข้าสคูปเลย
การเลือกซื้อ
อินเตอร์ที่ขายๆกันมีให้เลือกอยู่มากมายหลายยี่ห้อ หลายแบบโดยมี 2 แบบใหญ่ๆ คือแบบ ท่อเชื่อม( WELDED OR EXTRUDED TUBE )แบบนี้จะมีโครงสร้างโดยใช้ท่ออลูมเนียมมาเชื่อมต่อกันเลย ไม่มีโครงสร้างเป็นแท่ง อย่างเช่นของ 1G , 7M ,1J , 4D56 จะมีลักษณะเป็นหลอดบางน้ำหนักเบา การระบายความร้อนดี แต่รับเเรงดันได้ไม่สูงมากเกิดการแตกได้ง่าย อินเตอร์แบบโครงสร้าง
( BAR AND PLATE )ทำขึ้นจากการนำหลอดอะลูมิเนียมมาเชื่อมติดกับโครงสร้างโดยใช้แผ่นอลูมิเนียม
พวกนี้จะมีขนาดใหญ่น้ำหนักมาก แต่ความแข็งแรงสูง รับแรงบูชได้สูงขึ้น คุณสมบัติการระบายความร้อน ขึ้นอยู่กับการออกแบบและวัสดุที่ใช้ในแต่ละยี่ห้อ เช่น ARC เป็นอินเตอร์ที่ทำขึ้นโดยใช้แผ่นอลูมิเนียมพับเชื่อมติดกับแท่งอะลูมิเนียมภายในท่อระบายอากาศจะมีครีบช่วยระบายอากาศรูปสามเหลี่ยม หลอดอากาศมีขนาดใหญ่ภายนอกทำเป็นมุมสามเหลี่ยมเพื่อให้อากาศไหลได้เร็วขึ้น
HKS เป็นอินเตอร์ออกแบบเป็นแบบท่อเชื่อมกับท่อด้วยตัวเองไม่มีแผ่นอะลูมิเนียมมาทำหน้าที่ยึด ภายในท่ออากาศเป็นทรงเหลี่ยมตรงๆ ภายนอกหลอดอากาศเป็นแบบเหลี่ยมแต่มีเอกลักษณ์ที่ครีบระบายความร้อนมีเยอะมากๆสามารถระบายความร้อนได้ดี
TURST เป็นท่อรับอากาศจะมีขนาดเล็กและแบนแต่จะมีท่อรับอากาศมากกว่า ทำให้ไอดีไหลผ่านได้รวดเร็วกว่า ภายนอกท่อรับอากาศมีลักษณะมนๆ มีขนาดหนากว่าการระบายความร้อนดี
BLITZ เป็นท่อรับอากาศเชื่อมกับแผ่นอะลูมิเนียมภายนอกดูเหมือนทั่วๆไปแต่ภายในหลอดอากาศมีครีบ ที่เป็นเอกลักษณ์ คือ ช่วงทางเข้าจะเป็นแบบครีบธรรมดา พอถึงช่วงกลางจะเป็นครีบซ้อนกันสองชั้น และพอถึงทางออกจะเป็นแบบธรรมดา ช่วยในการถ่ายเทความร้อนได้ดี
APEX เป็นลักษณะทั่วไปเอกลักษณ์คือภายนอกท่อรับอากาศภายนอกเป็นมุมเฉียงเป็นลักษณะห่างๆ ช่วยให้อากาศไหลมาระบายความร้อนได้รวดเร็วขึ้น
ข้อดี
ช่วยระบายความร้อนให้กับไอดี ให้มีอุณหภูมิลดลง แรงม้าสูงขึ้นลดอุณหภูมิของเครื่องยนต์และไอเสีย เทอร์โบทนทานขึ้น ลดอาการน็อคในการสันดาปเนื่องมาจากการชิงจุดระเบิด
ข้อควรระวัง
การติดตั้งต้องอยู่ในจุดที่รับลมมาระบายความร้อนได้ดีที่สุด ถ้าอยู่ในจุดที่ไม่ดีจะมีผลกลับกันทำให้ความร้อนไอดีสูงขึ้นกลายเป็นอินเตอร์ฮีทเตอร์ได้ ต้องไม่ไปบังการระบายความร้อนของหม้อน้ำอาจทำให้ความร้อนขึ้น ท่อยางและเหล็กรัดควรใช้อย่างดีที่ออกแบบมาเพื่อท่อเทอร์โบ ที่ต้องทนแรงดันและความร้อน เพราะถ้ามีการรั่วอาจทำให้ หรือรถจะวิ่งไม่ออกเครื่องสะดุด ถ้าแตกอาจทำให้ เครื่องดับ สตาร์ทไม่ติด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น